ครั้งแรกกับการทำ OEM ในวงการค้าข้าว


 

 

 OEM คืออะไร?

 

 

OEM ย่อมาจาก Origianl Equipment Manufacturer คือ การรับจ้างผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์สินค้าของลูกค้าเอง โดยโรงงานที่รับผลิตสินค้าจะมีเครื่องมือ เครื่องจักร สำหรับการผลิตสินค้าชนิดนั้นๆ ครบถ้วน มีกระบวนการผลิตเป็นลำดับขั้นตอน สามารถผลิตสินค้าในแบบที่ลูกค้ากำหนดได้ ซึ่งลูกค้าอาจจะให้ผลิตสินค้าแล้ว ติดในแบรนด์ของตัวเอง หรือไม่ติดแบรนด์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า

 

การจ้างผลิตแบบ OEM มีส่วนช่วยให้ลูกค้าได้เริ่มต้นผลิตสินค้าในแบรนด์ของตัวเอง ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมากในการจัดตั้งโรงงาน เท่ากับเป็นการยืมเครื่องไม้ เครื่องมือในการผลิตจากโรงงาน OEM เพื่อผลิตสินค้าของลูกค้าเอง โดยไม่ต้องวุ่นวายกับการสร้างโรงงาน ซื้อเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต รวมไปถึงการจ้างบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญในการผลิต เรียกได้ว่าเป็นการซื้อบริการแบบยืมใช้กระบวนการผลิตอย่างเต็มรูปแบบ ของโรงงาน OEM เพื่อผลิตสินค้าให้กับลูกค้าเอง ภายใต้ค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง ไม่เสียเวลาและผลตอบแทนที่ได้ถือว่าคุ้มค่า

 

ประโยชน์ของการจ้างผลิตสินค้า

นอกจากจะค่าใช้จ่ายไม่สูงแล้ว ยังมีความง่ายที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์ ปรับเปลี่ยนรูปแบบ หรือกลยุทธ์ทางธุรกิจได้ง่าย เพราะไม่ต้องมาถือความเสี่ยงเรื่องการลงทุนด้านการผลิตสินค้า

 

ลักษณะของโรงงาน OEM คือ โรงงานที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ของตัวเองเป็นหลัก แต่จะเน้นไปที่การผลิตสินค้าสร้างแบรนด์ให้กับลูกค้าเป็นหลักที่มีความต้องการที่จะผลิตสินค้าจำนวนน้อย หรือลูกค้าที่ไม่มีโรงงานเป็นของตัวเอง

 

........................................................

ครั้งแรกกับการทำ OEM ในวงการค้าข้าว

........................................................

 

 

การผลิตข้าวสารบรรจุถุงตั้งแต่สมัยก่อนมา เป็นเรื่องที่ยากและท้าทายสำหรับคนจัดตั้งโรงงานผลิตเป็นอย่างมาก เนื่องจากการจัดตั้งโรงงานผลิตข้าวสารโรงงานหนึ่งต้องใช้เงินทุนมหาศาลในการสร้างโรงงาน ซื้อเครื่องจักร รวมไปถึงการสรรหาจ้างบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการผลิต

ปัญหาการคัดกรองคุณภาพข้าวก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง  สิ่งที่โรงงานข้าวสารได้รับมาจากโรงสี ไม่ได้มีแต่ข้าวสารที่สีมาแล้วเท่านั้น แต่จะประกอบไปด้วยสิ่งเจือปนหลากหลายแบบ หลากหลายขนาด ซึ่งคนเราไม่สามารถนำไปรับประทานได้ เช่น หิน กรวด ทราย เมล็ดพืชต่าง ๆ ข้าวเปลือก เป็นต้น

ดังนั้นก่อนจะทำการบรรจุข้าวสารลงถุงเป็นแบรนด์ๆ หนึ่งที่วางจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการคัดกรอง ด้วยเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตข้าว หลายขั้นตอนด้วยกัน

มันคงจะเป็นเรื่องที่ยากและห่างไกลมาก ที่คนทำธุรกิจค้าข้าวรายย่อยต้องการมีข้าวภายใต้แบรนด์ของตัวเอง โดยที่ไม่มีโรงงาน ไม่มีเครื่องมือ เครื่องจักร ที่ใช้ในการคัดกรองคุณภาพข้าว และบรรจุข้าว ในขณะที่การมีแบรนด์เป็นของตัวเองในการทำธุรกิจค้าข้าวนั้น เป็นข้อได้เปรียบที่จะทำให้ผู้ประกอบการค้าข้าวรายย่อยได้ก้าวไปสู่การเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เติบโตขึ้นในวงการค้าข้าว

 

 

บริษัท ข้าวไทยฉัตรรุ่งเรือง จำกัด ได้เล็งเห็นความต้องการของลูกค้าที่ทำธุรกิจค้าข้าวมายาวนาน ที่ต้องการทำแบรนด์เป็นของตัวเอง แต่ติดปัญหาตรงที่ไม่มีเงินทุน เวลา และความสามารถมากพอที่จะดำเนินการผลิตข้าวสารภายใต้แบรนด์ของตัวเอง   จึงมีแนวคิดในการเปิดโรงงานให้มีการรับผลิตสินค้าข้าวสารบรรจุถุงภายใต้แบรนด์ของลูกค้าเองได้ 

 

........................................................

โดยให้ลูกค้าเป็นผู้กำหนด

ตัวสินค้า-ราคา-คุณภาพ

ได้ด้วยตนเอง

........................................................

ทั้งนี้เพื่อให้ปรับไปตามการแข่งขันของแต่ละพื้นที่ตลาดของลูกค้าเอง

 

การที่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง ๆ จะมีแบรนด์เป็นของตัวเองได้นั้น มีความจำเป็นอย่างที่จะต้องเตรียมความพร้อม และมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจค้าข้าวมาสักระยะ จึงจะสามารถสร้างแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเองได้ ทั้งนี้เพราะธุรกิจค้าข้าวเป็นวงการเฉพาะ เป็นสินค้าเฉพาะ ที่จำเป็นต้องผ่านการเรียนรู้ และมีความเข้าใจในการทำตลาดอย่างถ่องแท้เสียก่อน มิเช่นนั้นการทำแบรนด์ของตัวเองจะเป็นการลงทุนที่สูงเกินกำลัง หากลูกค้าไม่เคยมีประสบการณ์ในการค้าข้าวมาก่อนเลย

 

 

ประโยชน์ของ การผลิตข้าวแบบ OEM ภายใต้แบรนด์ของลูกค้า

หากคนที่เคยค้าข้าวมาสัก 1-2 ปี จะเห็นได้ว่า มีกำไรน้อยมากจากการทำธุรกิจค้าข้าว ที่มีตราสินค้าเหมือนกันอยู่เต็มตลาด ทั้งนี้เพราะมีการตัดราคากันไปมา จนท้ายที่สุดก็ไม่มีใครชนะการทำธุรกิจค้าข้าวได้อย่างแท้จริง นอกจากเจ้าของแบรนด์ตัวจริงเท่านั้น

การทำแบรนด์ข้าวสารจะว่าไปก็ไม่ได้ง่ายเสียทีเดียว เพราะ โรงงานที่ยินดีผลิตข้าวสารภายใต้แบรนด์ของคนอื่นนั้น มีอยู่น้อยมากในประเทศไทย สอบถามเจ้าไหน เขาก็จะเชียร์แต่สินค้าที่เป็นแบรนด์ของตัวเอง

 

........................................................

ผู้ประกอบการธุรกิจค้าข้าว

เกือบ 99%

ติดอยู่ในวงจรของการรับซื้อมาแล้วขายไป

ตราไหนดังก็ไปรับซื้อมา ขายตัดราคากันไปมาไม่รู้จบ

พอแบรนด์ดังใหม่มาก็แห่กันไปซื้อมาขาย แล้วก็ตัดราคาซ้ำไปมา

 ........................................................

 

 

คนทำแบรนด์ข้าวสารเป็นของตัวเอง นอกจากจะมีทุนแล้ว ต้องมีจุดยืนที่แน่ชัด

การที่แบรนด์ของเราจะเข้าสู่ตลาดได้นั้นก็เป็นความท้าทายให้กับผู้ประกอบการอยู่ไม่น้อย เพราะคู่แข่งในตลาดเดิมที่ก็ค่อนข้างเยอะ แต่การสร้างจุดเด่นในตัวสินค้า รวมไปถึงการลดต้นทุนให้เกิดช่องว่างกำไร การกระจายสินค้าแบรนด์ จะช่วยผ่อนแรงในการทำตลาดของเจ้าของแบรนด์ข้าวได้เป็นอย่างดี

หากไม่ได้เตรียมใจมาพร้อมเพื่อสิ่งนี้ การผลิตข้าวสารแบบ OEM จึงยังไม่เป็นทางเลือกเหมาะสำหรับผู้ประกอบการบางราย เพราะไม่ใช่แค่มีทุนถึงจะทำได้ แต่ต้อง มีทั้งความคิด ทั้งจุดยืน มีการวางแผนการทำการตลาด ในฐานะเจ้าของแบรนด์

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Visitors: 55,954