ปัญหา-อุปสรรค

ของคนค้าข้าว พร้อมวิธีแก้ไข


 
 
 

ภาพโดย Goumbik จาก Canva

ในการทำธุรกิจบางครั้งเมื่อเราทำไปนานๆ จะรู้สึกว่ามันเริ่มมีอาการอืดๆ คือ จากเดิมที่เราเริ่มก่อตั้ง มันจะมีช่วงที่พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ทั้งขนาดธุรกิจ ยอดขาย และปริมาณลูกค้า แต่พอผ่านมาสักช่วงหนึ่ง เรากลับรู้สึกว่ามันเริ่มทรงตัวอยู่นานและเริ่มไม่มีการขยับเขยื้อน ยอดขายเริ่มนิ่งคงที่ ลูกค้าไม่ค่อยมีกลุ่มใหม่เข้ามา และแน่นอนมันทำให้ขนาดธุรกิจของเราไม่สามารถเติบโตได้อีก

 

.......................................................

"อาการแบบนี้

  ไม่ใช่เรื่องปกติ"

 .......................................................

 

แต่เป็นสัญญาณที่กำลังเตือนให้เรารู้ว่า เรากำลังหยุดการพัฒนา และมีโอกาสที่เราจะเริ่มดิ่งลง! หรืออย่างดีก็แค่ประคองตัวไปแบบนี้เรื่อยๆ ไม่สามารถก้าวหน้าต่อไปได้อีก ซึ่งอาการแบบนี้คนที่ทำธุรกิจควรระวังให้มาก รวมถึงผู้ที่อยู่ใน ธุรกิจการจำหน่ายข้าวสาร แม้ว่าจะเปิดมานานคิดว่ามีฐานลูกค้ามั่นคง แต่หากเมื่อใดก็ตามที่มีสัญญาณนี้เกิดขึ้นอย่าได้นิ่งนอนใจ จะต้องหาทางแก้เพื่อให้เรามีโอกาสในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกครั้ง

 

 

สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจจำหน่ายข้าวสาร ของเราหยุดเติบโต อาจเกิดได้จาก

1.ใช้วิธีการขายและวิธีการตลาดแบบเดิม

เมื่อเราใช้วิธีเดิมเราย่อมได้ผลไม่เกินไปจากเดิม แต่ธุรกิจทุกวันนี้การแข่งขันสูง หากเราหยุดอยู่ กับที่มีโอกาส ที่คู่แข่งจะแซงหน้า อย่าลืมว่าทุกวันนี้การสื่อสารและการหาข้อมูลง่าย ต่อให้แต่เดิมเรามี จุดแข็งในเรื่องที่สามารถจำหน่ายข้าวสารราคาถูกกว่าเจ้าอื่น แต่เราก็อาจจะเจอปัญหาคู่แข่งสามารถหา โรงงานผลิตข้าวสาร ที่ให้ราคาเป็นพิเศษ ที่ทำให้เขา  สามารถขายข้าวสารราคาถูกมากๆ กว่าเราได้ อันนี้ทำให้เราเสียจุดแข็งได้ทันที

 2.ใช้วิธีเลียนแบบเจ้าอื่นในตลาดมาตลอด

มันเป็นเรื่องไม่ผิดที่เราจะลอกเลียนวิธีการที่ประสบความสำเร็จของผู้ที่เป็นเจ้าตลาดมาก่อนหน้าเรา แต่เมื่อวิธีการของเขา ถูกคู่แข่งรายอื่นแก้ด้วยวิธีการที่ดีกว่า เราก็จะพลอยเสียโอกาสไปด้วย

 3.ใช้วิธีโตคนเดียวไม่สร้างเครือข่าย

ต่อให้เรามีธุรกิจค้าข้าวสารที่ดีแค่ไหน แต่หากโตไปเพียงลำพัง ย่อมเกิดอาการสะดุดลงสักวัน เพราะมันเป็นพลังของเราเพียงรายเดียว

 

 ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay

 แนวทางในการแก้ไข เพื่อให้ธุรกิจค้าข้าวสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 1.พัฒนาคุณภาพสินค้า

อาจเป็นการเพิ่มชนิดหรือประเภทของข้าว ให้มีเพิ่มขึ้น

 2.พัฒนากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

นั่นก็คือการหาตลาดใหม่ๆ เช่น แต่เดิมเคยแค่ขายปลีกหน้าร้าน เราอาจจะรุกตลาดผู้ให้บริการร้านอาหาร โรงเรียน หรืออื่นๆ ที่เป็นรายใหญ่

 3.พัฒนาตลาด

เป็นการนำเอาสินค้าของเราไปนำเสนอในตลาดใหม่ ที่มีความแตกต่างจากเดิม

 

ภาพโดย Gordon Johnson จาก Pixabay

 4.พัฒนาเครือข่าย

เพิ่มการติดต่อประสานงานและสร้างกลุ่มธุรกิจที่เกื้อหนุนกัน

 

 

ปัญหาการชะงักงันเป็นเรื่องที่

ผู้จำหน่ายข้าวสาร

ไม่ควรนิ่งนอนใจ

ต้องแก้ไข-พัฒนา

เพื่อให้เราไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง

 

 

ภาพโดย ar130405 จาก Pixabay

 

 

 

 
Visitors: 55,024